การสร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจกับพนักงานในภาวะเศรษฐกิจซบเซา


เจ้าของธุรกิจทุกรายต่างอยากให้พนักงานของตนเองนั้นทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและขยันขันแข็ง และแน่นอนในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ หลายบริษัทอาจประสบปัญหาเหล่านี้ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อฝ่ายบริหาร ทำให้ผู้นำหลายรายต้องคิดหาแนวทางการแก้ไขต่างๆ จะเห็นว่าความคิดผิดๆที่ไม่อาจสร้างกำลังใจ จะประกอบไปด้วย 1.ให้เงินพิเศษแน่นอนว่าทุกคนชอบได้รับโบนัสทั้งนั้น พนักงานผู้ได้รับโบนัสก็จะขยันทำงานกันมากขึ้น แต่ความสุขที่ว่าก็อยู่ได้ไม่นานนัก2.ทำให้พนักงานมีความสุขไว้ก่อน ซึ่งบางบริษัทถึงกับทำห้องสันทนาการอื่นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจและสร้างกำลังใจให้พนักงาน แต่มันกลับไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อประสิทธิภาพการทำงาน 3.มองข้ามปัญหา โดยปล่อยปัญหาให้ผ่านไปแทนที่จะหาวิธีแก้ไข อาจเพราะเห็นว่าปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตและไม่อยากทำร้ายจิตใจพนักงาน 4.ทำอย่างไรก็ไม่เกิดแรงจูงใจคือพนักงานแต่ละคนนั้นควรได้รับการผลักดันที่แตกต่างกันไป 5.ไม่ต้องผลักดันพนักงานที่เก่งอยู่แล้วเพราะคนเหล่านี้เรียนรู้ไว ปรับตัวได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ จนทำให้เจ้านายคิดไปเองว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อพนักงานเหล่านี้อีก
สำหรับวิธีที่จะช่วยกระตุ้นกำลังใจแก่พนักงานมีด้วยกันดังนี้
– การพูดชื่นชมงานที่สำเร็จแล้วหรืออาจเสร็จแค่บางส่วน
– ถ้าพนักงานดูเหนื่อยหน่ายกับงานที่ทำก็เรียกพวกเขามาคุยเพื่อดูว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
– ชี้แจงให้กระจ่างว่าอะไรคือความคาดหมายที่ต้องการได้รับจากงานแต่ละชิ้น
– แบ่งงานให้พนักงานแต่ละคนทำโดยเนื้องานที่หลากหลายไม่ซ้ำซาก
– แสดงให้พนักงานเห็นว่างานที่พวกเขาทำก่อประโยชน์ต่อบริษัทมากแค่ไหน
– ทำให้พนักงานรู้สึกว่าสิ่งที่พวกเขาทำมีความหมายมากเพียงใด
– ติชมชี้แนะการทำงานของพนักงานทั้งด้านดีและด้านลบ เพื่อนำไปพัฒนาการทำงานต่อไป
– ให้อิสระแก่พนักงานในการรับผิดชอบงาน
– สร้างความลึกซึ้งของงานที่พนักงานแต่ละคนทำ
– เปิดโอกาสอย่างเหมาะสมให้พนักงานได้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำ
จะเห็นได้ว่าหากผู้บริหารมีความใกล้ชิดกับพนักงาน โดยการพูดคุยกันบ้าง เพื่อถามไถ่ปัญหา ก็จะทำให้ทราบว่าพนักงานต้องการอะไร เพื่อจะได้ส่งผลให้การทำงานออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Posted in ธุรกิจ | Comments Off on การสร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจกับพนักงานในภาวะเศรษฐกิจซบเซา

การเคลื่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจเมื่อไทยเข้าสู่อาเซียน


อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการดำเนินงานให้ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้านคือ
 1.  การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้านเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดเป้าหมายเวลาที่จะค่อยๆ ลดหรือยกเลิกอุปสรรคระหว่างกันเป็นระยะ ทั้งนี้่ กำหนดเป้าหมายให้ลดภาษีสินค้าเป็น 0% และลดหรือเลิกมาตราการที่มิใช่ภาษี สำหรับประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศภายในปี 2553 เปิดตลาดภาคบริการและเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2558 และเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553
2.  การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและพลังงาน)
3.  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ เช่น ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration-IAI) เป็นต้น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก
4.  การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภานนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรีีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

ธุรกิจไทยต้องเข้าไปแข่งขันในต่างประเทศ
สำหรับนักลงทุนไทยทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับการไปลงทุน หรือทำมาค้าขายในต่างประเทศ รัฐมีหน้าที่ต้องช่วยให้ความรู้ ให้การสนับสนุน รวมทั้งขจัดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเข้าสู่แหล่งทุนนอกประเทศ ความรู้ทางระเบียบ ข้อกฎหมายต่างๆ ความรู้ด้านภาษี การคุ้มครองสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาแก่นักลงทุนไทย ทั้ง 2 กรณีข้างต้น ภาครัฐควรร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จัดให้มีศูนย์ที่ให้คำปรึกษาในการปรับตัวของธุรกิจก่อนเข้าสู่ AEC และการทำการค้า การลงทุนในต่างประเทศด้วย ศูนย์ให้คำปรึกษานี้ จึงเป็นหน่วยงานที่มีสถานะมากกว่าการให้ข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่จะสามารถให้คำแนะนำ ประสานงาน และการช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนทั้งในและนอกประเทศด้วย

ดังนั้นการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นเรื่องที่เรามองข้ามไปไม่ได้ การปฏิบัติตามข้อตกลงในกรอบ AEC ถือเป็นการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจไทย แต่คงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจไทยมีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะโจทย์ที่ผมเสนอไว้ว่า ทำอย่างไรประเทศไทยจะสามารถก้าวไปให้ไกลกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เพราะหนทางเดียวที่จะรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ มีคุณภาพ การออกแบบที่ทันสมัย และการสร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ หากต้องการให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลุ่ม SME ลงมาจนถึงอุตสาหกรรมพื้นบ้านของไทยเรา มีอนาคตที่สดใส

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on การเคลื่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจเมื่อไทยเข้าสู่อาเซียน

ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเหมือนกันในสภาวะเศรษฐกิจ

20

ภาวะทางธุรกิจที่ถดถอยอย่างหนักในปัจจุบันอันมีต้นกำเนิดเกิดจากวิกฤต Sub-Prime (ซับไพรม์) ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่แพร่กระจายทั่วทุกมุมโลกอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการปล่อยกู้เงินที่มีความหละหลวมของสถาบันการเงินไปยังกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะผ่อนชำระเงินกู้ได้ ซึ่งนักสื่อสารมวลชนในไทยได้ตั้งฉายาของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ตามสัญลักษณ์และลักษณะของประเทศที่เป็นต้นกำเนิด แต่ไม่ว่าเราจะเรียกวิกฤตทางการเงินครั้งนี้ว่าอะไรก็แล้วแต่ มันไม่ใช่เรื่องสำคัญหรือสาระหลักที่จะมาเอ่ยถึงในบทความนี้ ใจความสำคัญของเราคือ การสร้างธุรกิจให้เจริญเติบโตในภาวะเศรษฐกิจที่ติดลบ ซึ่งหลายคนเมื่ออ่านมาถึงประโยคเมื่อสักครู่อาจจะต้องตั้งคำถามในใจว่าจะเป็นไปได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ขนาดนี้ ที่ทุกวันมีแต่ข่าวเลิกจ้าง ปลดพนักงาน ปิดกิจการ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังคงติดลบถ่ายทอดออกมาเป็นกราฟทางเศรษฐกิจที่ลูกศรทิ้งดิ่งลงมาอยู่ตลอดเวลา

เราควรเริ่มหาลูกค้ารายใหม่ๆ ให้กับบริษัท ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเหมือนกันในสภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว โดยอาจจัดตั้งทีมขึ้นมาสักหนึ่งทีมทำหน้าที่เสมือนกับพนักงานขายในห้างสรรพสินค้าแต่มีอะไรที่เหนือมากกว่าพนักงานขายทั่วไป ทำหน้าที่ค้นหาและสร้างลูกค้ารายใหม่ขึ้นมา ซึ่งการได้ลูกค้ารายใหม่เข้ามาจะทำให้สามารถกำหนดและสร้างตลาดในกลุ่มใหม่ๆ ได้อีกด้วยอีกทั้งยังเป็นผลดีกับทางบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะการที่บริษัทมีลูกค้าใหม่เข้าเพิ่มมากขึ้นก็เปรียบเสมือนกับการขยายฐานพีระมิดที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับทางบริษัท จำไว้ว่า ยิ่งเศรษฐกิจมีภาวะถดถอยมากเท่าไร ยิ่งต้องหาลูกค้ารายใหม่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น การกำหนดเป้าหมายและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนการวางแผนการล่วงหน้าอย่างคร่าวๆ ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องทำก่อนคือกำหนดเป้าหมายปลายทางที่ต้องการจะไปถึง เช่น ถ้าเป็นการขายผลิตภัณฑ์หรือสินค้าประเภทต่างๆ ก็ควรกำหนดยอดที่ควรขายให้ได้เอาไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจนเพื่อสร้างแรงกระตุ้น อีกทั้งยังสามารถนำมาคำนวณตัวเลขรายรับทางบัญชีได้ล่วงหน้าอีกด้วย

Posted in ธุรกิจ | Comments Off on ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเหมือนกันในสภาวะเศรษฐกิจ

เมื่อสภาวะเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจมีปัญหา เราจะหาเงินทุนอย่างไร

ในการทำธุรกิจหลายคนอาจประสบปัญหาการขาดแคลนเงินสดในการใช้จ่ายในองค์กร จึงต้องอาศัยการวางแผนทางการเงินที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้อยู่ในสภาวะฉุกเฉินในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาภาวะการขาดแคลนเงินสดจึงต้องอาศัยความรู้ด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้

ธนาคารเป็นลำดับแรกที่ผู้ประกอบการมักให้ความสนใจเมื่อบริษัทเกิดขาดแคลนเงินสด แต่ธนาคารมักระมัดระวังในการปล่อยกู้เป็นอย่างมาก ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ธุรกิจยังไม่ประสบปัญหา ธนาคารกลับยื่นข้อเสนอในการกู้ยืมให้มากมาย ทั้งนี้เป็นเพราะธนาคารกลัวว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นทางเราจะไม่สามารถนำเงินมาใช้คืนได้ ซึ่งต่างจากตอนที่ธุรกิจสามารถไปได้ดีและมีกำลังจ่ายสูง แต่อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจต้องอาศัยการวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป เพราะถ้าเราอาศัยการวางแผนอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะประสบปัญหาเราควรเริ่มติดต่อธนาคารและกู้ยืมไว้ตั้งแต่แรก เพราะธนาคารจะยื่นข้อเสนอดีๆให้กับเราอยู่ เพื่อนำเงินจำนวนนั้นมาหมุนเวียนได้อย่างคล่องตัว โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการคิดว่าในการกู้แต่ละครั้งเป็นการกู้แบบระยะสั้นต้องนำไปคืนธนาคารอยู่ดี ทำให้ไม่ได้สนใจในรายละเอียดของการกู้ยืมมากนัก อีกทั้งดอกเบี้ยอาจทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าของเรามีราคาสูงขึ้น ดังนั้นควรเลือกรูปแบบของการกู้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ

ผู้ประกอบการอาจจะขาดแคลนเงินจนไม่สามารถกู้กับทางธนาคารได้ วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือ การนำของในบริษัทไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ไปขายเพื่อแลกกับเงินสดสักก้อน โดยอาจเลือกเป็นสิ่งของที่ไม่ค่อยจำเป็นหรือหาอย่างอื่นมาทดแทนได้ไปก่อน หรือธุรกิจอาจขาดเงินในบางช่วงก็ควรใช้วิธีจำนำแทน แล้วจึงนำเงินสดไปไถ่คืน

การทำธุรกิจไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว การวางแผนถึงอนาคตก็เป็นสิ่งจำเป็น ทำให้รู้ว่าช่วงไหนจะขาดแคลนเงิน ทำให้เกิดการเตรียมพร้อมไว้ก่อนเมื่อถึงเวลานั้น และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือฐานลูกค้าที่มั่นคง ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on เมื่อสภาวะเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจมีปัญหา เราจะหาเงินทุนอย่างไร

วิธีการผลักดันธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ

ในสภาวะที่เศรษฐกิจมีการถดถอยเข้าสู่ขั้นวิกฤติ ทำให้มีการใช้แหล่งเงินกู้ของสถาบันทางการเงินที่ถูกกู้โดยลูกค้าที่ไม่มีความสามารถที่จะชำระเงินกู้ได้ ดังนั้นเราจึงควรสร้างธุรกิจให้กลับมาเติบโตในยุคที่มีความย่ำแย่ และมีแนวโน้มที่จะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ

วิธีที่จะทำให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ มีดังนี้

1.ทำการหาลูกค้าใหม่ ทำการหาลูกค้ารายใหม่ๆให้กับบริษัท ถึงแม้จะเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ โดยอาจจะตั้งทีมขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ขายและสร้างลูกค้ารายใหม่ ซึ่งการหาลูกค้ารายใหม่นั้นช่วยสร้างตลาดในกลุ่มใหม่ๆได้ ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับบริษัท

2.การจัดการเงินของบริษัท ถึงแม้การจัดการเงินในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะเป็นเรื่องที่ยากก็ตาม โดยการจัดการด้านการเงินต้องทำอย่างรัดกุม เพราะต้องนำเงินเหล่านี้ไปใช้จ่ายสารพัด และถ้าไม่มีการบริการที่รอบคอบแล้วย่อมทำให้ธุรกิจมีการหยุดชะงักได้

3.กำหนดเป้าหมายและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน มีการวางแผนงานล่วงหน้า กำหนดเป้าหมายที่จะทำ เพื่อช่วยเพิ่มแรงกระตุ้น อีกทั้งยังสามารถควบคุมการทำงานได้อีกด้วย

4.นำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยในการผลิตสินค้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้บริษัทมีความเจริญก้าวหน้า สามารถผลิตสินค้าได้ครั้งละมากๆ อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆช่วยพัฒนาบุคลากรได้อีกด้วย

5.ปรับปรุงการบริการ ลูกค้าเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจมีความอยู่รอด บริษัทจึงต้องปรับปรุงการบริการอยู่เสมอ เพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้

6.มีการฝึกอบรมพนักงาน เพราะพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมจะมีความรู้ความสามารถมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมมาใช้ในตำแหน่งหน้าที่การงานของตนเองได้ ถึงแม้บริษัทจะต้องเสียค่าอบรมเป็นเงินจำนวนหนึ่งก็ตาม

7.จัดระบบตัวแทนจำหน่าย พูดคุยตกลงกันในเรื่องต่างๆ ให้แต่ละฝ่ายมีผลประโยชน์ที่ไปด้วยกันได้ ซึ่งบางทีตัวแทนจำหน่ายอาจช่วยเหลือเราทางด้านเทคนิคต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งด้านการเงินก็เป็นไปได้

การทำธุรกิจในสภาวะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงที่แย่ อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ทางผู้ประกอบการเองจึงต้องมีความเชื่อมั่น และต่อสู่ต่ออุปสรรคต่างๆให้ได้ อีกทั้งต้องมีความตั้งใจจริงจึงจะทำให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นแบบเดิมได้

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on วิธีการผลักดันธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ

ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี ที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับเศรษฐกินในปัจจุบัน

ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจมีหลักการ ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ และทิศทางการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ มุ่งเน้นให้ผู้ที่สนใจจะเป็นผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจค้าปลีก หรืออุตสาหกรรมในครอบครัว ได้มีโอกาสศึกษาทำความเข้าใจลักษณะของแผนธุรกิจและ การเตรียมตัวก่อนทำธุรกิจ และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจลักษณะของแผนธุรกิจที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจค้าปลีกหรือผู้ประกอบการ SMEs จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในอนาคตของผู้บริหารรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่สถาบันการเงินและนักลงทุนภายนอก ที่จะเป็นแหล่งเงินทุน ให้แก่กิจการในอนาคตได้ โดยปกติแผนธุรกิจ จะบอกให้เราทราบว่าปัจจุบันเราเดินอยู่ ตรงไหน อนาคตจะไปอยู่ที่ใด ด้วยวิธีการอย่างไรโดยทั่วไปจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.   มีลักษณะน่าเชื่อถือและสามารถเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งแผนธุรกิจที่ดีจะทำให้ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ให้กู้มีความเชื่อใจว่า ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายใหม่ สามารถทำให้ความคิดตามแผนที่วางไว้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
2.   แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อม การที่ผู้ประกอบการมีพื้นความรู้ด้านการค้าปลีก มีเชี่ยวชาญมีความชำนาญเฉพาะด้าน ความสมบูรณ์ครบถ้วนของแผนธุรกิจจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการค้าปลีก มีความสามารถ และความตั้งใจจริง เพราะถ้าแผนขอกู้ยังไม่มีคุณภาพขาดความความสมบูรณ์ครบถ้วน ย่อมคาดหวังไม่ได้กับประสิทธิผลของการประกอบการธุรกิจค้าปลีก
3.  มีลักษณะเฉพาะตัว ที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างจากแนวความคิดเดิมที่ผ่านมาทำให้แผนมีลักษณะเด่นและควรสร้างความน่าเชื่อถือโดยมีข้อมูลหรือสารสนเทศพร้อมอ้างอิง
4.  สามารถสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีการวางแผนการณ์ดำเนินงานมาอย่างดี แผนจะบอกถึงระดับความเตรียมพร้อมในธุรกิจที่จะลงทุน และชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ มีความรู้เท่าทันในธุรกิจนั้นๆ ได้ดีเพียงใด ถ้ามีระดับการเตรียมพร้อมตลอดจนแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ยิ่งทำให้ผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ให้กู้รู้สึกเสี่ยงน้อยลงเท่านั้น
5. แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความมุ่งมั่น มีวิสัยทัศน์ คือเป็นผู้เล็งการณ์ไกล และมีวิธีจะจัดการกับสิ่งท้าทายในอนาคต

Posted in ธุรกิจ | Tagged , | Comments Off on ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี ที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับเศรษฐกินในปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ของธุรกิจเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ


ลักษณะทั่วไปและความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำวันและมีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการเป็นพื้นฐาน และเพื่อขวานขวายให้ได้มาซึ่งสิ่งต่าง ๆ สำหรับมาบำบัดความต้องการของตนเองและครอบครัว จึงก่อให้เกิดกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นธุรกิจขึ้น ธุรกิจจึงเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งเพื่อจะบำบัดหรือสนองความต้องการของมวลมนุษย์  ธุรกิจเป็นพลังผลักดันที่ครอบคลุมไปทั่วสังคมของมนุษย์ เป็นที่ก่อให้เกิดการว่าจ้างแรงงาน เป็นแหล่งที่ใช้ทรัพยากรมากที่สุด เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้และภาษีอากร ซึ่งแต่ละปัจจัยดังกล่าวนี้มีอิทธิพลที่จะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและ สังคม

ความสำเร็จของธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของมนุษย์ตลอดจน สุขภาพและความคิดอ่าน เพราะพลังคนเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบการ อย่างไรก็ตามธุรกิจต่าง ๆ นั้นมิได้ตั้งขึ้นแต่เพียงเพื่อแสวงหากำไรเท่านั้น หากยังได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยการจัดให้มีสินค้าและบริการสนองตอบความ ต้องการของสังคมด้วย

ประโยชน์ของธุรกิจ
ธุรกิจมีประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ ดังนี้
1.  ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ
เพื่อ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อมีบ้านย่อมต้องการเฟอร์นิเจอร์  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้าน เป็นต้น
2.  ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
องค์กร ธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าแล้วย่อม ต้องการขายหรือจำหน่ายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค จึงต้องมีธุรกิจอื่นมาทำหน้าที่กระจายสินค้าเหล่านั้น เช่น มีระบบคนกลาง ได้แก่ พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า  มีระบบการขนส่ง การคลังสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ
3.  เกิดการจ้างงาน
ธุรกิจต้องจ้างบุคคลเข้ามาทำงาน ทำให้ช่วยลดปัญหาการว่างงานและปัญหาทางสังคมด้วย
4.  ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น
ประชาชน มีงานทำและมีรายได้จากองค์กร ธุรกิจ  ทำให้มีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น เกิดมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นด้วย
5.  สร้างรายได้ให้กับรัฐ
การเสียภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของธุรกิจให้กับรัฐบาล ทำให้รัฐบาลมีเงินไปพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน
6.  เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
มี เครื่องจักรที่ทันสมัยในการผลิต สินค้า  มีเครื่องมือสื่อสารที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต  เป็นต้น
7.  ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี  เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สามารถนำออกไปจำหน่ายต่างประเทศ   ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น   เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้น

บทบาทของธุรกิจต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ
1.  พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  (ผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการที่ดี)
2.  พัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า  (คนมีงานทำ  มีสินค้าและบริการครบครัน)
3.  สร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ   (สร้างรายได้ให้ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป)

Posted in ธุรกิจ | Tagged , | Comments Off on ความสัมพันธ์ของธุรกิจเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ